วันเสาร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2561

แต่งกายดีเป็นศรีตระกูล ป.1


โครงงานคุณธรรม...ตามแนวทางมูลนิธิยุวสถิรคุณ
โรงเรียนบ้านซับกระดาน (โครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ)
1) ชื่อโครงงาน
“แต่งกายดีเป็นศรีตระกูล”
2) ที่มาและความสำคัญ(แรงบันดาลใจ/สภาพปัญหา/ที่มาของแนวคิด/ความดีที่อยากทำ)
           เนื่องจากปัจจุบันนักเรียน มีค่านิยมในการแต่งกาย ชุดนักเรียนที่หลายหลากมีทั้งแต่งตัวได้ถูกต้องเหมาะสมและไม่ถูกต้องตามระเบียบของโรงเรียนเพื่อเป็นการยกย่องและส่งเสริมนักเรียนที่ปฏิบัติตามระเบียบของโรงเรียนในเรื่องการแต่งกาย โรงเรียนบ้านซับกระดาน จึงมีแนวคิดทำโครงงาน แต่งกายดีเป็นศรีตระกูล ขึ้นเพื่อให้นักเรียนแต่งกายได้ถูกต้องตามระเบียบของโรงเรียนและเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนักเรียนทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน
3) วัตถุประสงค์ของโครงงาน
           3.1  ด้านความรู้  (Knowledge) เพื่อให้นักเรียนมีความรู้และความเข้าใจกฎระเบียบของโรงเรียน
           3.2  ด้านกระบวนการปฏิบัติ  (Process) เพื่อให้นักเรียนแต่งกายได้ถูกต้องตามระเบียบของ
โรงเรียน
           3.3 ด้านเจตคติ  (Attitude) เพื่อปลูกฝังให้นักเรียนมีระเบียบวินัย
          3.4 เพื่อเป็นการถวายพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่  9)
4) ปัญหา
           นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ แต่งกายไม่ถูกระเบียบของโรงเรียน
5) สาเหตุของปัญหา
           .๑ นักเรียนชอบแต่งกายตามใจตนเอง
           ๕.๒ นักเรียนขาดอุปกรณ์การแต่งกาย
6) กลุ่มเป้าหมาย
           - เชิงคุณภาพ : นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ โรงเรียนบ้านซับกระดานแต่งกายถูกต้องตามระเบียบของโรงเรียน          
           - เชิงปริมาณ : นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนบ้านซับกระดาน จำนวน ๘ คน
7) ระยะเวลาและสถานที่ดำเนินงาน (๒ ระยะ คือ ระยะสั้นและระยะยาว)
           เป้าหมายระยะยาว :      เดือนมิถุนายน ๒๕๖๑ – เดือนมีนาคม ๒๕๖๒
 เป้าหมายระยะสั้น :     เดือนมิถุนายน ๒๕๖๑ – เดือนกันยายน ๒๕๖๑
                                    เดือนตุลาคม ๒๕๖๑ – เดือนมีนาคม ๒๕๖๒
สถานที่ โรงเรียนบ้านซับกระดาน  ต.ซับสนุ่น  อ.มวกเหล็ก  จ.สระบุรี



๘) วิธีการดำเนินงาน (P D C A)
        ๘.๑ ขั้นตอนการวางแผน (Plan)
                     ๑. นักเรียนและครูอภิปราย คิด วิเคราะห์ ดูสภาพปัญหาในปัจจุบันซึ่งมีผลต่อสภาพสังคม
และตัวนักเรียนเอง
                     ๒. สร้างความเข้าใจในโรงเรียน เพื่อให้นักเรียนเห็นความสำคัญและประโยชน์ของการแต่ง
กายที่ถูกต้องตามระเบียบของโรงเรียน
                     ๓. ตั้งชื่อโครงงาน
                     ๔. แต่งตั้งผู้รับผิดชอบโครงงาน
                     . ประชุมวางแผนกำหนดวัน เวลา ระยะเวลาในการดำเนินโครงงานเเละการประชาสัมพันธ์
                     . นำมติที่ประชุมเข้าหารือกับครูที่ปรึกษาโครงการเพื่อหาเเนวทางในการปฏิบัติงาน
           ๘.๒ ขั้นตอนการดำเนินงาน (Do)
                     ๑. ประชุมเพื่อรับทราบกำหนดการวัน เวลา เเละระยะเวลาในการดำเนินโครงงาน
                     ๒. ทำการประชาสัมพันธ์กิจกรรม โดยผ่านหัวหน้าห้องเรียน
                     ๓. จัดทำรูปแบบการแต่งกายประจำวันที่ถูกระเบียบของโรงเรียน    
                     ๔. จัดทำแบบบันทึกการแต่งกายของนักเรียน       
                    ๕. มีการประชุมสรุปโครงงานทุกวันศุกร์นำปัญหาเเละเเนวทางป้องกันเเก้ไขจากที่ประชุมมา
เป็นประสบการณ์การเพื่อใช้ในการขับเคลื่อนการทำโครงงานต่อไป
           ๘.๓ ขั้นตอนการตรวจสอบ (Check)
                    ๑. มีประชุมสรุปงาน ประชุมเเบบประเมินงานและวิเคราะห์ถึงภาพรวมของงาน 
พร้อมทั้งรับฟังข้อเสนอแนะจากนักเรียนแกนนำ หัวหน้ากลุ่มและหัวหน้าห้องเรียนในเรื่องปัญหาที่พบเพื่อหาแนวทางในการปรับปรุงเพื่อใช้ในการดำเนินงานในโครงงานถัดไป
                    ๒. ครูที่ปรึกษาโครงงานให้การดูแล กำกับติดตาม เสนอแนะ นิเทศ ตรวจสอบการดำเนิน
โครงงานของนักเรียน
                    ๓. นักเรียนแกนนำทำสรุปโครงงานส่งครูที่ปรึกษา หลังดำเนินโครงงานเสร็จสิ้น
          ๘.๔ ขั้นตอนการปรับปรุงพัฒนา (Act)
                     ๑. เมื่อทราบที่มาของปัญหาให้นักเรียนแกนนำนำปัญหาหารือกับครูที่ปรึกษาโครงงานเพื่อหาแนวทางในการแก้ปัญหาทั้งนี้จะต้องมีการจดบันทึกเป็นการเสนอแนะเพื่อปรับแนวทางในการเข้าร่วมโครงงานในปีถัดไป
                      ๒. วิเคราะห์ผลการประเมินในเรื่องความสามารถและความเหมาะสมของระยะเวลา
การดำเนินงาน             
                      ๓. วิเคราะห์ผลการประเมินประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดโครงงานตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้
๙) งบประมาณและแหล่งที่มา
                     -
๑๐) ผลที่คาดว่าจะได้รับ
๑๐.๑ นักเรียนปฏิบัติตนตามระเบียบของโรงเรียน มีความภาคภูมิใจและแบบอย่างที่ดีให้กับเพื่อนๆนักเรียน
 ๑๐.๒ นักเรียนมีจิตสำนึกของการเป็นนักเรียนและมีวินัยในตนเองมากขึ้น
๑๑) การน้อมนำ หลักธรรม/หลักการทรงงาน (พระราชดำรัช,พระบรมชาโอวาท)
           ๑๑.๑ หลักธรรม
                     มงคลชีวิต 38 ประการ ข้อที่ 9 มีวินัยดี
           ๑๑.๒ ศาสตร์พระราชา (พระราชดำรัช,พระบรมชาโอวาท)
           การมีวินัย มีความสามัคคี และรู้จักหน้าที่ ถือกันว่าเป็นคุณสมบัติสำคัญประจำตัวของคนทุกคน แต่ในการสร้างเสริมคุณสมบัติ 3 ข้อนี้ จะต้องไม่ลืมว่า วินัย สามัคคี และหน้าที่นั้น เป็นได้ทั้งในทางบวกและทางลบ ซึ่งย่อมให้คุณหรือให้โทษได้มากเท่าๆ กัน ทั้ง 2 ทาง เพราะฉะนั้น เมื่อจะอบรม จำเป็นต้องพิจารณาให้ถ่องแท้แน่ชัดก่อนว่า เป็นวินัยสามัคคีและหน้าที่ดีคือ ปราศจากโทษเป็นประโยชน์ เป็นธรรม (พระราชทานแก่ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ วันอังคาร 12 ก.ค.2526)
๑๒) คุณธรรมอัตลักษณ์
           ๑๒.๑ คุณธรรมเป้าหมาย
                     ความมีวินัย
           ๑๒.๒ พฤติกรรมบ่งชี้เชิงบวก
              นักเรียนแต่งกายถูกต้องตามระเบียบของโรงเรียน
๑๓) ที่ปรึกษาโครงงาน 
๑๓.๑ ครูที่ปรึกษาโครงงาน นางสาวอลิสรา   คำดี
๑๓.๒ ผู้บริหารที่ปรึกษาโครงงาน  นายวีรพงษ์  ไชยหงษ์





รูปภาพกิจกรรมโครงงานคุณธรรมชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑

ขั้นตอนที่ 1 นักเรียนร่วมกันประชุม



ขั้นตอนที่ 2 นักเรียนศึกษาปัญหา จุดพัฒนา และแนวทางแก้ไข




ขั้นตอนที่ 3 สรุปและประเมิน เพื่อนำเสนอ







ของหายได้คืน

โครงงานคุณธรรม...ตามแนวทางมูลนิธิยุวสถิรคุณ
โรงเรียนบ้านซับกระดาน (โครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ)
1) ชื่อโครงงาน
“ของหายได้คืน”
2) ที่มาและความสำคัญ(แรงบันดาลใจ/สภาพปัญหา/ที่มาของแนวคิด/ความดีที่อยากทำ)
           ในสังคมปัจจุบันความซื่อสัตย์ถือเป็นสิ่งสำคัญในการดำเนินชีวิตของคนในสังคม อีกทั้งยังเป็นคุณธรรมพื้นฐานที่มนุษย์ทุกคนควรปฏิบัติให้เกิดเป็นคุณลักษณะที่พึงประสงค์ นักเรียนโรงเรียนบ้านซับกระดาน ได้รับการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมในหลายๆด้าน ซึ่งคุณธรรมเรื่องความซื่อสัตย์นั้นเป็นสิ่งที่ยังเห็นภาพการปฏิบัติได้ไม่ชัดเจน จนบางครั้งนักเรียนมองข้ามพฤติกรรมด้านความซื่อสัตย์ไป โรงเรียนบ้านซับกระดาน จึงมีแนวคิดทำโครงงาน ของหายได้คืนขึ้นเพื่อให้นักเรียนได้ปลูกฝังคุณธรรมเรื่องความซื่อสัตย์สุจริตและสามารถนำไปปฏิบัติจนเป็นวิถีชีวิตได้
3) วัตถุประสงค์ของโครงงาน
           3.1  ด้านความรู้  (Knowledge)  เพื่อให้นักเรียนมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรม และความซื่อสัตย์
           3.2  ด้านกระบวนการปฏิบัติ  (Process)  เพื่อเป็นการฝึกปฏิบัติตนให้เป็นคนซื่อสัตย์สุจริตและสามารถนำไปปฏิบัติจนเป็นวิถีชีวิตได้
            3.3 ด้านเจตคติ  (Attitude)  เพื่อปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมด้านความซื่อสัตย์สุจริต
           3.4 เพื่อเป็นการถวายพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่  9)
4) ปัญหา
           นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ บางคนเจอของผู้อื่นแล้วไม่นำไปคืน
5) สาเหตุของปัญหา
           .๑ นักเรียนมีความอยากได้ของผู้อื่น
6) กลุ่มเป้าหมาย
           - เชิงคุณภาพ : นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ โรงเรียนบ้านซับกระดานปฏิบัติตนให้เป็นคนที่มีความซื่อสัตย์ 
           - เชิงปริมาณ : นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ โรงเรียนบ้านซับกระดาน จำนวน ๕ คน
7) ระยะเวลาและสถานที่ดำเนินงาน (๒ ระยะ คือ ระยะสั้นและระยะยาว)
           เป้าหมายระยะยาว :      เดือนมิถุนายน ๒๕๖๑ – เดือนมีนาคม ๒๕๖๒
 เป้าหมายระยะสั้น :      เดือนมิถุนายน ๒๕๖๑ – เดือนกันยายน ๒๕๖๑
                                เดือนตุลาคม ๒๕๖๑ – เดือนมีนาคม ๒๕๖๒
สถานที่ โรงเรียนบ้านซับกระดาน  ต.ซับสนุ่น  อ.มวกเหล็ก  จ.สระบุรี


๘) วิธีการดำเนินงาน (P D C A)
           ๘.๑ ขั้นตอนการวางแผน (Plan)
                     ๑. นักเรียนและครูอภิปราย คิด วิเคราะห์ ดูสภาพปัญหาในปัจจุบันซึ่งมีผลต่อสภาพสังคม                      และตัวนักเรียนเอง
                     ๒. สร้างความเข้าใจในโรงเรียน เพื่อให้นักเรียนเห็นความสำคัญและประโยชน์ของการแสดง                   พฤติกรรมที่ดีที่สมควรแก่การเป็นแบบอย่าง ความภาคภูมิใจในการทำความดี
                     ๓. ตั้งชื่อโครงงาน
                     ๔. แต่งตั้งผู้รับผิดชอบโครงงาน
                     . ประชุมวางแผนกำหนดวัน เวลา ระยะเวลาในการดำเนินโครงงานเเละการประชาสัมพันธ์
                     . นำมติที่ประชุมเข้าหารือกับครูที่ปรึกษาโครงการเพื่อหาเเนวทางในการปฏิบัติงาน
           ๘.๒ ขั้นตอนการดำเนินงาน (Do)
                     ๑. ประชุมเพื่อรับทราบกำหนดการวัน เวลา เเละระยะเวลาในการดำเนินโครงงาน
                     ๒. ทำการประชาสัมพันธ์กิจกรรม โดยผ่านหัวหน้าห้องเรียน
                     ๓. จัดทำสมุดบันทึกของหายได้คืน โดยทุกครั้งที่มีการจดบันทึกครูเวรประจำวันจะประกาศ                    ชื่อนักเรียนที่ทำความดี เพื่อเป็นการชื่นชมนักเรียนที่กระทำความดี
                      ๔. ปฏิบัติงานจริง เเละเเก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเมื่อเกิดปัญหาขึ้น
                      ๕. มีการประชุมสรุปโครงงานทุกวันศุกร์นำปัญหาเเละเเนวทางป้องกันเเก้ไขจากที่ประชุมมา                    เป็นประสบการณ์การเพื่อใช้ในการขับเคลื่อนการทำโครงงานต่อไป
           ๘.๓ ขั้นตอนการตรวจสอบ (Check)
                     ๑. มีประชุมสรุปงาน ประชุมเเบบประเมินงานและวิเคราะห์ถึงภาพรวมของงาน พร้อมทั้งรับ    
                         ฟังข้อเสนอแนะจากนักเรียนแกนนำ หัวหน้ากลุ่มและหัวหน้าห้องเรียนในเรื่องปัญหาที่พบ   
                         เพื่อหาแนวทางในการปรับปรุงเพื่อใช้ในการดำเนินงานในโครงงานถัดไป
                      ๒. ครูที่ปรึกษาโครงงานให้การดูแล กำกับติดตาม เสนอแนะ นิเทศ ตรวจสอบการดำเนิน
                         โครงงานของนักเรียน
                      ๓. นักเรียนแกนนำทำสรุปโครงงานส่งครูที่ปรึกษา หลังดำเนินโครงงานเสร็จสิ้น
          ๘.๔ ขั้นตอนการปรับปรุงพัฒนา (Act)
                     ๑. เมื่อทราบที่มาของปัญหาให้นักเรียนแกนนำนำปัญหาหารือกับครูที่ปรึกษาโครงงาน
                                เพื่อหาแนวทางในการแก้ปัญหาทั้งนี้จะต้องมีการจดบันทึกเป็นการเสนอแนะเพื่อปรับ                        แนวทางในการเข้าร่วมโครงงานในปีถัดไป
                      ๒. วิเคราะห์ผลการประเมินในเรื่องความสามารถและความเหมาะสมของระยะเวลาการ
                         ดำเนินงาน             
                      ๓. วิเคราะห์ผลการประเมินประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดโครงงานตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้
๙) งบประมาณและแหล่งที่มา
                     -
๑๐) ผลที่คาดว่าจะได้รับ
๑๐.๑ นักเรียนได้รับการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมด้านความซื่อสัตย์
๑๐.๒ นักเรียนฝึกปฏิบัติตนให้เป็นคนที่มีความซื่อสัตย์
๑๑) การน้อมนำ หลักธรรม/หลักการทรงงาน (พระราชดำรัช,พระบรมชาโอวาท)
           ๑๑.๑ ฆราวาสธรรม ๔ ธรรมของผู้ครองเรือนผู้มีคุณสมบัติของผู้ประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิตทางโลก ประกอบด้วย
                     ๑. สัจจะ แปลว่า จริง ตรง แท้ มีความซื่อสัตย์เป็นพื้นฐาน
                     ๒. ทมะ แปลว่า ฝึกตน ข่มจิต และรักษาใจบังคับตัวเองเพื่อลดละกิเลส รักษาสัจจะ
                     ๓. ขันติ แปลว่า อดทน อดกลั้นต่อการบีบบังคับของกิเสส
                     ๔. จาคะ แปลว่า เสียสละ บริจาคสิ่งที่ไม่ควรมีอยู่ในตน โดยเฉพาะกิเลส
๑๑.๒ ศาสตร์พระราชา (พระราชดำรัช,พระบรมชาโอวาท)
           คนที่ไม่มีความสุจริต คนที่ไม่มีความมั่นคง ชอบแต่มักง่าย ไม่มีวันจะสร้างสรรค์ประโยชน์ส่วนรวมที่สำคัญอันใดได้ ผู้ที่มีความสุจริตแลละความมุ่งมั่นเท่านั้น จึงจะทำงานสำคัญ ยิ่งใหญ่ที่เป็นคุณ เป็นประโยชน์แท้จริงได้สำเร็จ(พระราชดำรัส เมื่อวันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๒๒)
๑๒) คุณธรรมอัตลักษณ์
           ๑๒.๑ คุณธรรมเป้าหมาย
                     ความซื่อสัตย์
           ๑๒.๒ พฤติกรรมบ่งชี้เชิงบวก
              ๑. นักเรียนขออนุญาตทุกครั้งก่อนหยิบของผู้อื่น
             . นักเรียนคืนสิ่งของผู้อื่นเมื่อใช้เสร็จแล้ว
๑๓) ที่ปรึกษาโครงงาน 
๑๓.๑ ครูที่ปรึกษาโครงงาน นางสาวอลิสรา   คำดี
๑๓.๒ ผู้บริหารที่ปรึกษาโครงงาน  นายวีรพงษ์  ไชยหงษ์


  


รูปภาพกิจกรรมโครงงานคุณธรรมชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒


ขั้นตอนที่ 1 นักเรียนร่วมกันประชุม


ขั้นตอนที่ 2 นักเรียนศึกษาปัญหา จุดพัฒนา และแนวทางแก้ไข




ขั้นตอนที่ 3 สรุปและประเมิน เพื่อนำเสนอ




วันอังคารที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2561

โครงงานมินิบานาน่าช็อกโก้

มินิบานาน่าช็อกโก้

สถานที่ตั้ง               ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านซับกระดาน
ครูผู้รับผิดชอบ       นางสาวอลิสรา   คำดี
นักเรียนแกนนำ       1. เด็กหญิงณัฐวรรณ   ดวงจิตร
                                  2. เด็กชายธันวา   อุดใจ
                                  3. เด็กหญิงสุพิชชา   พันลพ
                                  4. เด็กหญิงขวัญจิรา   ดียิ่ง
                                  5. เด็กหญิงฐิติวัลย์แสนสระสิน
                                  6. เด็กชายปิยะพงษ์   จันทร์ประสิทธิ์
                                  7. เด็กชายปิยชาติ   ปอสูงเนิน
                                  8. เด็กชายฉัตรชนก   จิตรเสนาะ

ที่มาและความสำคัญ
           เนื่องจากเศรษฐกิจในยุคปัจจุบันคนส่วนมากไม่มีรายได้พิเศษทำจึงไปทำงานในกรุงเทพจากบ้านจากครอบครัว โครงงานนี้จึงสรรหางานที่อยู่บ้านและสบายขึ้นมา เพื่อให้มีรายได้หาเลี้ยงครอบครัววันละนิด จึงนำกล้วยมาศึกษาเพื่อจะนำไปใช้ในการประกอบอาชีพ ช่วงนี้ประเทศไปทั่วทุกภาคจะมีฝนฟ้าตกกระจายไปทั่ว ผลผลิตกล้วยแบบง่ายๆมีหลายวิธีทำง่ายๆ หากทำคล่องดีแล้วก็จะผลิตเป็นอาชีพเสริมได้

วัตถุประสงค์    
           1. เพื่อศึกษาประโยชน์ของกล้วย
           2. เพื่อให้นักเรียนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
           3. เพื่อนำความรู้จากการศึกษาพัฒนามาเป็นอาชีพในอนาคตได้

วัตถุดิบ
           1. กล้วยหอม 
          2. ไม้สำหรับเสียบกล้วยหรือไม้ไอศกรีม
          3. ช็อกโกแลต (เลือกรสชาติได้ตามชอบ)
          4. ท็อปปิ้งตามชอบ เช่น เกล็ดน้ำตาลหลากสี, อัลมอนด์อบสุกสับหยาบ, ช็อกโกแลตชิป

ขั้นตอนวิธีการทำ
           1. ปอกเปลือกกล้วยหอมออกแล้วตัดแบ่งเป็น 3 ส่วนเท่า ๆ กัน เสียบด้วยไม้ไอศกรีมแล้วนำไปวางเรียงในถาดจากนั้นนำกล้วยไปแช่แข็งประมาณ 1 ชั่วโมง จนไม้ไอศกรีมติดแน่นกับกล้วย
           2. สับช็อกโกแลตที่เตรียมไว้เป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่ลงในภาชนะที่เตรียมไว้ นำช็อกโกแลตไปละลายประมาณ 15-20 วินาที เสร็จแล้วนำมาคนผสมให้เป็นเนื้อเนียน
           3. เตรียมท็อปปิ้งสำหรับโรยหน้าให้พร้อม
           4. นำกล้วยออกจากช่องแข็งแล้วนำลงไปชุบในแก้วช็อกโกแลตที่ละลายไว้ รอให้ช็อกโกแลตหยดลงในแก้วให้หมดก้อนแล้วโรยท็อปปิ้งตามชอบให้สวยงาม

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
           1.  ได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
           2.  ได้รู้จักประโยชน์ของกล้วย
           3.  ได้รู้จักวิธีการทำงานร่วมกับผู้อื่น
           4.  สร้างรายได้หรือนำไปประกอบอาชีพได้























เตยหอมคลายร้อน


น้ำใบเตยหอมคลายร้อน


 
สถานที่ตั้ง               ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านซับกระดาน
ครูผู้รับผิดชอบ       นางสาวอลิสรา   คำดี
นักเรียนแกนนำ       1. เด็กชายชานนท์   ศิริเถียร
                                  2. เด็กชายสิรภัทร   ศรีดาชาติ
                                  3. เด็กชายพีรพัฒน์   ศรประเสริฐ
                                  4. เด็กหญิงพิมพ์ชนก   ชื่นฤทัย
                                  5. เด็กหญิงศิรภัสสร   นิลมาลา


ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
           ใบเตยหอมเป็นพืชสมุนไพร  ในอดีตนิยมนำใบเตยหอม มาประกอบอาหารและทำขนมหวานใช้แต่งกลิ่นเวลาหุงข้าวเจ้าและข้าวเหนียว  หรือนำไปแต่งกลิ่นและสีของขนม  จะเห็นได้ว่าเราใช้สมุนไพรเตยหอมมากมาย ใบเตยมักจะขึ้นในที่ชื้นแฉะใกล้น้ำ  ใบจะงอกจากลำต้นเรียงเวียนแน่นรอบลำต้น  มีสีเขียว  รูปเรียวยาวคล้ายหอกและมีกลิ่นหอมเย็น  ไม่มีดอก  ขยายพันธุ์โดยใช้หน่อ  ใบเตยมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงหัวใจ  ช่วยลดการกระหายน้ำเพราะเมื่อเรารับประทานน้ำใบเตยจะรู้สึกชื่นใจและชุ่มคอ

วัตถุประสงค์ของการการศึกษา
           1. เพื่อใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
           2. เพื่อให้นักเรียนรู้จักประโยชน์ของสมุนไพรในท้องถิ่นและรู้จักการเลือกบริโภคน้ำ ดื่มที่มี 
               ประโยชน์
           3. เพื่อเรียนรู้การแปรรูปของสมุนไพร
           4. เพื่อฝึกลักษณะนิสัยการช่วยเหลือตนเองการประหยัดและการเป็นผู้ผลิต

ส่วนผสม
           1. ใบเตยสด
           2. น้ำเปล่า
           3. น้ำตาล
           4. เกลือ

ขั้นตอนวิธีการทำ
           1. ล้างใบเตยให้สะอาดทีละใบ แช่น้ำด่างทับทิมหรือเกลือ ประมาณ 10 นาที

           2.หั่นใบเตยตามขวางเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วแบ่งออกเป็นสองส่วน

           3.แบ่งเอาใบเตยส่วนหนึ่งโขลกหรือตำคั้นน้ำออก แล้วกรองด้วยผ้าขาวบางไว้

           4.ต้มน้ำให้เดือดใช้ไฟปานกลางใส่ใบเตยอีกส่วนลงไปต้มด้วย พอเริ่มได้น้ำสีเขียวอ่อนก็ตักใบเตยออกแล้วเติมน้ำคั้นใบเตยลงไป เติมน้ำตาลทรายรอจนน้ำตาลละลายหมดเติมเกลือนิดหน่อย ปิดไฟพักไว้ให้เย็นเวลาจะทานก็เติมน้ำแข็ง


ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
           1.  ได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
           2.  ได้รับจักสรรพคุณและประโยชน์ของใบเตย
           3.  ได้รู้วิธีการแปรรูปสมุนไพร
           4.  สร้างรายได้หรือนำไปประกอบอาชีพได้





















แต่งกายดีเป็นศรีตระกูล ป.1

โครงงานคุณธรรม...ตามแนวทางมูลนิธิยุวสถิรคุณ โรงเรียนบ้านซับกระดาน (โครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ) 1) ชื่อโครงงาน “แต่งกายดีเป็นศรีตร...